วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านวิจัย

วิจัย

การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบ
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้



มาอ่านวิจัยกันค่ะ

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทความ

บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 


 สรุปองค์ความรู้
               
             การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู

สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย

                                          มาดูโทรทัศน์ครูกันค่ะ



             นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ

สื่อวิทยาศาสตร์

สื่อวิทยาศาสตร์

จับคู่เสียง




อุปกรณ์

1.ขวดยาคลูย์และขวดนมเปี้ยว
2.หิน
3.เม็ดโฟม
4.เมล็ดข้าว
5.ถั่วเขียว
6.กาว
7.กรรไกร
8.กระดาษสี
9.กล่องเหลือใช้
วิธีทำ

1.นำขวดยาคลูท์และขวดนมเปรี้ยวมาใส่ หิน เม็ดโฟม  เมล็ดข้าว ถั่วเขียว 
2. จากนั้นปิดผาให้สนิทแล้วตกแต่งขวด
3.นำกล่องที่เหลือใช้มาห่อด้วยกระดาษสีแล้วตกแต่งให้สวยงาม
4.นำขวดทั้งหมดมาเรียงข้างในกล่องที่ห่อเส้จแล้ว


การเล่น
ให้เด็กเขย่าขวดให้เกิดเสียง จากนั้นให้จับคู่เสียงที่เหมือนกัน

หมายเหตุ ** - ในการส่งรอบแรกอาจารย์ได้ให้สื่อกับมาแก้ใหม่ก็คือให้ใช้กระดาษห่อขวดนมเปรี้ยวเพื่อเด็กจะไม่สามารถรู้ได้ว่าข้างในเป็นอะไร 
- ควรทำเฉยให้เด็กใต้ขวดเป็นภาพ หิน เม็ดโฟม  เมล็ดข้าว ถั่วเขียว


สื่อเข้ามุมวิทยาศาตร์ (แก้)  
จับคู่เสียง



สรุป

เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ที่เสียงแตกต่างกันเพราะวัตถุข้างในมีขนาดที่ต่างกัน




วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารณ์จินตนา สุขสำรญ
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20


สิ่งที่ได้รับในวันนี้
- อาจารยืได้ให้เพื่อนนำเสนอวิจัย/โทรทัศน์ครูต่อจากครั้งที่แล้วจนครบทุกคน
- อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิมในการเขียนแผน) ให้นั่งเป็นกลุ่มจากนั้นให้ทำแผ่นพับ 
"สานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน" เพื่อเป็นการสื่อสารกับผุ้ปกครองให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและรู้ว่าสัปดาห์นี้เด็กจะเรียนอะไร 







ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำ แล้วตั้งใจทำแผ่นผับสารสัมพันธ์บ้านโรงเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนบ้างคนคุยและเล่นโทรศัพท์อาจารย์เตือนบอกให้ตั้งใจฟัง ในการทำแผ่นพับทุกคนช่วยเหลือกันดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนออย่างดี แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมเป็นครุปฐมวัยค่ะ



วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารณ์จินตนา สุขสำรญ
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนเอาของเล่น (สื่อวิทยาศาสตร์) ของแต่ละคนมา เพื่อจัดประเภทว่าของเล่นใครอยู่ในหมวดไหน ประเภทไหน
ประเภทของเล่น(วิทยาศาสตร์) ได้ได้แยกมีดังนี้
- เรื่องเสียง
- เรื่องแรง
- เรื่องน้ำ
- เรื่องอากาศ

ของเล่น (สื่อวิทยาศาสตร์)



กิจกรรมที่2  การทำหวานเย็น      
   Ingredient
   น้ำหวานสีแดง
   น้ำอุ่น
   น้ำแข็ง
   เกลือ

   Equipment
   หม้อ
   ช้อนตรวง
   ถุงเล็ก
   ยางวง


อุปกรณ์ในการทำหวานเย็น


ขั้นตอนในการทำหวานเย็น



ขั้นตอนในการทำ

1.ผสมน้ำกับน้ำหวานแดงในกะละมัง
2.ตักน้ำแดงที่่ผสมใส่ถุงแล้วมัดปากถุงให้สนิท
3.นำน้ำแข็งใส่ไปในหม้อแล้วเอาถุงน้ำหวานทีมัดใส่ลงไปในหม้อ
4.โรยเกลือลงไปในหม้อ ใส่น้ำแข็ง ถุงน้ำหวาน แล้วก็ใส่เกลือสลับกัน
5.หลังจากนั้นก็เขย่าๆ แล้วคอยเติมน้ำแข็งกับเกลือไปเลื่อยๆ จนน้ำหวานในถุงแข็งตัว


สรุปกิจกรรม

การทำกิจกรรมหวานเย็นนี้เป็นการบูรณาการทางวิทยาศาตร์ด้วย ที่น้ำหวานในถุงแข็งตัวเนื่องจากของเหลว(น้ำหวาน) กับน้ำแข็ง มาอยู่รวมกัน เมื่อใส่เกลือลงไปเกลือจะเป็นตัวไปทำปฏิกิยาในการดูุดวามชื้น ทำให้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว


การประยุกต์ใช้

  กิจกรรมในเรื่องของเล่น (สื่อวิทยาศาสตร์) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของเราในอนาคตและรู้ถึงในเรื่องที่เราทำการจัดหมวดหมู่ว่าของเล่นที่เราทำนั้นอยู่หมวดหมู่ไหนและสามารถจัดเข้ามุมประสบการณ์ของเด็กเพื่อให้เด็กได้เล่นได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
  กิจกรรมการทำหวานเย็นเป็นกิจกรรมง่ายที่เราสามารถจัดทำขึ้นกับเด็กแล้วยังสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้อีกด้วย ในเรื่องการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง


ประเมินตนเอง
เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เเละเข้าเรียนตรงต่อเวลา  สนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้ทำ ได้ความรู้ใหม่ในเรื่องของการทำหวานเย็น
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ 
ร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ 
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ผู้สอนนำการเรียนการสอนที่ดีมากมาสอน
 เพราะสามารถนำไปใช้ในวิชาชีพที่เรียนได้และสามารถนำไปสร้างรายได้  
สร้างอาชีพในอนาคตของตนเองและยังให้องค์ความรู้ใหม่ๆกับพวกเรา



วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารณ์จินตนา สุขสำรญ
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการทำขนมวาฟเฟิลซึ่งอาจารย์ได้เป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ในการทำทุกอย่าง และอาจารย์ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม 
เพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันทำ

อุปกรณ์ในการทำ
1.แป้งสำเร็จรูป 
2.นมสด
3.เนย
4.ไข่ไก่
5.น้ำร้อน
6.ถ้วยเล็ก
7.เตา waffle
8. ที่ตีไข่

อุปกรณ์ในการทำ waffle



ขั้นตอนการทำ





ขั้นตอนการทำwaffle

1. นำนมสด น้ำร้อน แป้งสำเร็จรูปมาผสมและตีให้เข้ากัน
2.ตอกไข่ไก่ใส่ถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน
3.ใส่เนยลงไปแล้วคนให้เเป้งละเอียด
4.นำเนยมาวางในเตา waffle เพื่อไม่ให้แป้งติดเตา
5.หลังจากทาเตาเรียบร้อยแล้วนำเเป้งที่ผมไว้เทลงไปในเตา waffle แล้วปิดฝา
6.เมื่อได้กลิ่นหอม เปิดเตาวาฟเฟิล จะได้ waffle ที่อร่อย





การนำไปประยุกต์ใช้
          บูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของ การจำแนก เวลา รูปร่าง รูปทรง  การจำแนก ซึ่งในแต่ละกิจกรรมนี้ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานในการทำขนมวาฟเฟิล  และนำไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคต


ประเมินตนเอง
เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เเละเข้าเรียนตรงต่อเวลา 
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้ทำ 
ร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ 
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ผู้สอนนำการเรียนการสอนที่ดีมาสอนนักเรียน เพราะสามารถนำไปใช้ในวิชาชีพที่เรียนได้และสามารถนำไปสร้างรายได้  สร้างอาชีพในอนาคตของตนเอง