วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารณ์จินตนา สุขสำรญ
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


สิ่งที่ได้รับในวันนี้


Actvities   วันนี้อาจารยืเริ่งต้นชั่วโมงด้วยการให้เราประดิษฐ์ (Invention)  สื่อจากกระดาษ


กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมลูกยาง
อุปกรณ์
1 กระดาษหน้าปก ( Paper )
2   กรรไกร ( Scissors )
3   คลิปหนีบกระดาษ  ( paperclip )

ขั้นตอนการประดิษฐ์

1 นำกระดาษที่ได้มาพับครึ่ง  แล้วนำกรรไกรมาตัดเป็นแนวตรงยาวให้ชิดกับรอยพับครึ่งของกรรไกร
2 พับส่วนบนของกระดาษเข้ามา  1 เซนติเมตร
3 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่พับส่วนบนเข้ามา  จากนั้นกางปีกส่วนที่โดนตัดออกไปคนละด้าน    กัน
4 นำมาทดลองเล่น  โดยการโยนและทำให้กระดาษหมุน


Results

Grop : 1-2 หมุนได้ดี เพราะการตัดกระดาษที่ลึกและสมดุลกันจึงทำำให้กระดาษหมุนได้ทรงและทรงตัวได้ดีในอากาศ
Grop : 3-4 หมันได้น้อย ลงสู่พื้นเร้ว บางคนไม่หมุน


Solutions
ตัดตรงปรีกให้ลงไปอีก ให้เท่า Grop 1-2
เปลี่ยนวิธีการเล่นใหม่ (โยน)

กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมแกนกระดาษทิชชู่
อุปกรณ์
1 แกนกระดาษทิชชู่
2 กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม
3 ไหมพรม
4 กาว
5 กรรไกร
6 สี
7 ที่เจาะรู


ขั้นตอนการประดิษฐ์
1 นำเเกนกระดาษทิชชู่มาตัดครึ่ง แล้วเจาะรู 4 รู
2 นำกระดาษมาตัดเป็นวงกลม มาแปะตรงเเกนกระดาษทิชชู่ วาดรูปลงไปให้สวยงาม
3 นำไหมพรมมาร้อยกับแกนกระดาษทิชชู่ ให้สามารถห้อยคอได้
4 จากนั้นก็ทดลองเล่น  โดยการเคลื่อนขึ้นลงไปมา ได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์




วิธีการเล่น

ผูกเชือกให้สายเชือกสามารถคล้องคอได้ แล้วนำมาคล้องคอ ใช้มือดึงเชือกขึ้นลงไปมาจะทำให้ภาพขึ้นลงได้ และเรายังสามารถที่จะประดิษฐ์สื่อขึ้นได้เอง นอกจากประดิษฐ์จากแกรนกระดาษทิชชูเรายังนำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างเช่น จานกระดาษ หนังสือพิมพ์ หรือแผ่นซีดี นำมาเป็นสื่อวิทยาศาสตร์ที่สอนเด็กได้


การนำเสนอบทความของเพื่อน

บทความที่ 1 โดย miss Jiraporn Noulchom
เรื่อง สะกิดลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์

รูปแบบ 5 Es Model ประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้น ซึ่งพ่อแม่สามารถนำไปฝึกลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 เมื่อลูกเรียน 2 อย่างพร้อมกัน พ่อแม่ควรตรวจสอบความรู้เดิมของลูกก่อน ว่ามีพื้นฐานขนาดไหน หรือเข้าใจถูกต้องหรือไม่

ขั้นที่ 2 ให้ลูกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยค้นขว้าหาข้อมูลเรื่องที่สนใจและอยากรู้จากแหล่งต่างๆ

ขั้นที่ 3 ให้ลูกลองวิเคราะห์ตรวจสอบความรู้ที่ตนเองสร้างจากขั้นที่ 2 โดยคุนกับลูก และให้ลองอธิบายเรื่องที่ได้เรียนรู้ตามความเข้าใจของตนเอง

ขั้นที่ 4 ให้ลูกเชื่อมโยง และขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนไปยังสิ่งที่อยู่รอบตัว สามารถทดลองได้ง่ายๆ

ขั้นที่ 5 พูดคุยกับลูก ให้ลูกสะท้อนความรู้และความคิดที่ตนเองสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


บทความที่ 2  โดย  miss Anna Chawsuan
เรื่อง การเรียนรู้จากนิทาน

การเรียนรู้จากนิทานมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย

ขั้นตอนแรก คือ ขั้นนำ เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ  สนทนาตั้งคำถาม ในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก้และเป็ด

ขั้นที่สอง คือ ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น
 "อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างค่ะ" หนูรู้ได้อย่างไร? บอกรายละเอียดให้มากที่สุด สามารถตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ดโดยการนำลูกไก่มาให้เด็กได้สังเกต รูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาการของลูกไก่ ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย บอกรายละเอียดของเป็ดให้มากที่สุด
นอกจากนั้นครูควรพาเด็กไปศ฿กษาความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ด หรือพื้นที่อยู่ใกล้โรงเรียน และสังเกตไก่และเป็ด จากนั้นให้เด็กมาช่วยกันบอกรายละเอียดของไก่และเป็ด และวาดภาพอย่างอิสระ

ขั้นที่สาม คือ ขั้นสรุป เด็กเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่าง ลักษณะต่างกัน โดยค้นหาคำตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ


บทความที่ 3 โดย miss




วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารณ์จินตนา สุขสำรญ
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการให้คะแนะนำในการแก้ไขบล็อกของแต่ละคน และให้ทุกคนเพิ่มภาษาอังกฤษลงในบล็อกเพื่อเตรียมตัวที่จะเข้าสู้ปรัชาคมอาเซียนเราจะได้คุ้นเคย

จากนั้นอาจารย์ได้ถามพวกเราว่า "Constructivism" สอดคล้องกับการศึกษา
    
            การศึกษาด้วยตนเอง+การลงมือปฎิบัติจริง+สร้างชิ่นงานด้วยตนเอง

พัฒนาการก็ คือ การแสดงความสามารถตามอายุ การแสดงออกมาแต่ละด้าน ซึ่งเราจะคาดหวังเป็นคุณลักษณะและเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นของเด็ก ก็คือ เด็กจะเล่นโดยใช้ปรัสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งดิ้วอี้ เข้าเน้นเด็กเป็นสำคัญ การได้ลงมือปฎิบัติจริง ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้

กิจกรรมที่ได้ทำมนวันนี้

แจกกระดาษให้วาดภาพที่เชื่อโยงกันระว่างสองภาพหน้า-หลัง




อาจารย์ได้คำถามว่า "ภาพมันซ้อนกันเพราะอะไร" (หมุนไม้)

สรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม การทำงานชิ้นนี้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง การที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง "วิธรการเรียนรู้" และเรายังได้รู้ถึงวิธีการทำสื่อวิทยาศาสตร์ง่ายๆที่เราสามารถหาวัสดุอุปกรณ์ที่ง่ายดายมาสอนเโ้กได้ด้วย




การนำเสนอบทความของเพื่อน


บทความที่ 1 โดยนางสาววิรัณดา ขยันงาน (wiranda  Khayanngan)
เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช

 -ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้เด็ก เป็นต้นไม้โอนเอนไปมา 
-ส่งสริมพัฒนาการทางด้านสังคมการเรียนรู้เรื่องผัก เด็กได้มีปฎิสัมพันธ์ในการได้สักถามแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน
-ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ทดลอองปลูกต้นไม้ เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในการวัดการเจริญเติบโตของต้นไ้ม้
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย



บทความที 2 โดย นางสาวอรุณจิต  หาญห้าว   (arunjit Hanhao)
เรื่อง เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
นิทานเป้นสื่อที่เด็กชอบเพราะมันเป้นเรื่องราวที่มานำเสนอ้ป็นสิ่งที่เด็กสนใจ ที่เป็นเนื้อหาสาระความรู้ บางทีเราเล่านิทานผ่านนิทานเพื่อให้เด็กได้จดจำสาระความรู้นำเสนอเป็นบทเพลงเด็กก็จะเข้าใจมากขึ้น
นิทานมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คือ มีรูปภาพ เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไป ฟังง่าย สั้นๆกระชับ เรามักจะนำเนื้อหาความรู้ สอดแทรกผ่านการเล่านิทาน 
การร้องเพลง ลักษณะของเพลงต้องมีจังหวะ ทำนอง ฉะนั้นการเล่านิทานจึงง่ายกว่าการร้องเพลงประกอบเนื้อหาแต่ถ้ามองในความชอบของเด็ก เด็กจะชอบการเล่าเนื้อหา ประกอบเพลงมากกว่า


บทความที่ 3 โดยนางสาวณัฐธิดา รัตนชัย (miss  Nattida Rattanachai)
เรื่อง แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้กับเด็กอนุบาล

แนวทางในการปฏิบัติมี 5 ข้อ
1.ตั้งคำถาม
2.หาคำตอบ
3.ข้อเท็จจริง
4.นำเสนอ
5.นำคำตอบที่ได้ไปเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์

ดร.วรนาท รักสกุลไท นักการศึกษาปฐมวัยผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า  เราคงทราบดีกันอยู่เเล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียรู้ ได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีสูงในด็กวัยนี้



บทความที่ 4 โดยนางสาว(Anitimom  Samma)
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การทดลองวิทาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้ เกี่ยวกับการสังเกตและการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล ทักษะการมอง ทักษะการฟัง  ทักษะการดม ทักษะการลิ้มรสช่วย ทักษะการสัมผัส เป็นต้น



ศึกษาเพิ่มเติม

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล (Froebelian Mode)

                เฟรอเบลเน้นการจัดประสบการณ์การศึกษาอนุบาลในภาพรวมนับแต่การจัดสิ่งแวดล้อม การจัดตารางเวลากิจกรรมประจำวัน การจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กในชั้นเรียนทั้งที่เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี ขับร้อง สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่นำเสนอต่อไปนี้จะเน้นเฉพาะช่วงกิจกรรมวงกลม ซึ่งเป็นช่วงการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วยการเตรียมและการดำเนินการ
                การเตรียม
                ครูผู้สอนต้องประเมินพัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก และความพร้อมในการเรียนด้วยการสังเกตเด็ก แล้วจึงมาเตรียมชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก พร้อมออกแบบประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็ก จากนั้นวางแผนขั้นตอนการสอนด้วยการเล่นชุดอุปกรณ์เป็นลำดับ
                การดำเนินการ
ขั้นนำ เริ่มกิจกรรมการสอนด้วยการทำให้เด็กสงบ อาจเป็นการร้องเพลง กิจกรรมคำคล้องจอง เป็นต้น เมื่อเด็กพร้อมจึงเริ่มการเรียน
ขั้นสอน ครูบอกจุดประสงค์การเรียน แล้วเสนอชุดอุปกรณ์ที่จะให้เด็กนำไปเล่นและสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์และแผนที่วางไว้ ครูจะไม่เข้าไปจัดการเด็กในขณะทำกิจกรรมการเรียน แต่สร้างบรรยากาศให้เป็นการเล่นอย่างธรรมชาติ
ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน เมื่อเรียนจบแล้วเด็กสามารถไปทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ ที่จัดเตรียมไว้อีก เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ ฟังนิทาน ร้องเพลง หรือกิจกรรมเคลื่อนไหว เป็นต้น
                ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญ เฟรอเบลมีการพัฒนาตารางกิจกรรมวันขึ้นมาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาครอบคลุบทุกด้าน ทั้งร่างกาย  จิตใจ อารมณ์   สังคม จากแนวคิดนี้ได้เป็นต้นแบบของตารางกิจกรรมประจำวันของการศึกษาอนุบาลในปัจจุบัน ที่เฟรอเบลจะให้เด็กนั่งเป็นวงกลมร้องเพลงแล้วเล่นชุดอุปกรณ์ ปัจจุบันเรียก กิจกรรมวงกลม ส่วนกิจกรรมสร้างเสริมสุนทรีและเพลิด ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา แต่ละวันครูจะจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบรรยากาศและสภาพความต้องการของเด็ก
การประเมินผล
                 การประเมินผลการเรียนของเฟรอเบลเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่พัฒนาไปตามลำดับ ชุดอุปกรณ์ จุดเน้นสำคัญของเฟรอเบลอยู่ที่การเรียนอย่างมีความสุข เป็นธรรมชาติ เพราะเฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นคือสื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าใจภายในด้วยตัวของเด็กเองที่เป็นไปตามกลไกชีวิต เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมือมีความพร้อมที่จะเรียนด้วยการเล่นและการมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟลอเบลเป็นเรื่องของการจัดการศึกษาอนุบาลทั้งระบบ ตั้งแต่การสอนหลักสูตร เนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้ การเตรียมครูและการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการสอนเด็ก บรรยากาศของเรียนรู้เน้นเป็นธรรมชาติ ความเพลิดเพลิน ความเป็นอิสระในการเล่นและการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นผู้จัดวางจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเป็นแบบแผน สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมีความหมายกับเด็กเป็นอย่างมาก  โรงเรียนของเฟรลเบลประกอบด้วยสวนที่สวยงาม มีสนาม มีมุมของเล่น ที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นได้ตามความสนใจ มีบริเวณสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งลักษณะการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟรอเบลนี้ ก็คือ รูปแบบของการจัดสิ่งแวดล้อมโรงเรียนอนุบาลในปัจจุบัน

http://www.youtube.com/watch?v=Bkvc00r8F7w

ประเมินตนเอง    

วันนี้แต่งกายเรียบร้อยร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำสื่อที่อาจารย์ทำมาให้ทำอย่างสวยงาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน และทำกิจกรรมี่อาจารย์นำมาสอนอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิกในการสอนที่ดี และมีการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่ทำง่ายๆมาสอนพวกเราให้เราได้ความรู้มากขึ้น





วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงมาด้วยการที่อาจารย์ได้เปิดเพลงให้ฟังเป็นเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (Science)
Music = Knowledge
Skills = Perform
 พอฟังจนจบเพลงอาจารย์ได้ถามว่าเพลงนี้บอกอะไรกับเรา  
เพลงนี้ = อยากรู้อะไรให้ทดลองใช้สมองคิดและพิสูจน์ความจริง
*** เพลงวิทยาศาสตร์ที่ได้ฟังนี้เพื่อให้เด็กได้ความรู้ ได้เนื้อหา และทักษะที่ให้เด็กทำเด็กต้องลงมือทำด้วยตนเอง

การนำเสนอบทความของเพื่อน

บทความที่ 1 โดย นางสาวปรียานุช  ชนเทพ  ( Preeyanuch Contep)
   เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ   

       

 บทความที่ 2 โดย นางสาวปิยะดา ผ่องพัน (Pyada Pongpan)
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะที่ได้รับ
-การเรียงลำดับ
-การจำแนก
-การสังเกต
สาระที่เด็กควรรู้
-สิ่งต่างๆที่อยุ่รอบๆตัวเรา
-ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา
-เรื่อองราวที่เกี่ยวกับคนสถานที่และสิ่งแวดล้อม

เทคนิกการสอน

วันนี้อาจารย์ได้มีเทคนิกในการสอนในการเข้าบทเรียนด้วยการเปิดเพลงเด็กที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาได้ฟังและเมื่อจบเพลงก็ได้ใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกาาได้ตอบคำถาม ได้คิด
แลกเปลี่ยนความรู้กันว่าจากการที่ฟังเพลงไปนั้นเราได้อะไรจากเพลง จากนั้นก้นำเข้าสู่บทเรียน

ประเมินตนเอง
 วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังและโต้ตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถามเป็นอย่างที่ดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีเทคนิกในการสอนที่แปลกใหม่ไปจากเดิม ทำให้น่าเรียนและสนใจเรียน เข้าใจในเนื้อหามากขึ้นค่ะ

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจาร์ยจินตนา  สุขสำราญ
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557  
เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.  
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้เริ่มต้นชั่วโมงการเรียนด้วยการดู Blogger ของแต่ละคนและบอกรายละเอียดให้ทุกคนได้ไปปรับปรุงแก้ไขของตัวเอง สิ่งที่ได้รับในวันนี้มีมากมายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนScience Experiences Management for Early Childhood และได้ให้เพื่อนออกไปนำเสนอบทความ 5 คน



Present บทความ

บทความที่ 1 โดย (นางสาวดาราวรรณ กล่อมใจ)
เรื่อง จุดประเด็นเด็กคิดนอกกรอบ กิจกรรมสนุกกับของเล่นวิทยาศาสตร์

     ของเล่นเป็นสิ่งของที่อยู่คู่กับเด็กๆทุกคน ทั้งของเล่นวิทยาศาสตร์และของเล่นพื้นบ้านที่เด็กใช้เล่นกันในแต่ละวัน คุณครูอุนพพรและครูพี่เลี้ยงจึงได้คิดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้เด็กได้เป็นนักทดลอง ค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ทฤษฎีต่างๆไดและสืบเสาะหาความรู้โดนให้นักเรียนได้ทดลองกิจกรรมนี้ 
    กิจกรรมที่ครูจัดขึ้นนั้นจะเป็นกิจกรรมให้เด็กหาความรู้จากของเล่น การพับแฮลิคอปเตอร์กระดาษ  จรวด  เเละเครื่องบิน  ซึ่งเป็นความคิดดสร้างสรรค์นอกกรอบ  เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือ  ต้องการให้เด็กทราบถึง   ความสูง - ต่ำ  ในการโยนจรวดลงสู่พื้นดิน 


บทความที่ 2 โดย (นางสาวพาทินธิดา เฉลิมบุญ)
เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กก็คือ วิทยาศาตร์คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา
ล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้นอยู่ที่เราจะสอนหีือว่าวิธีอะไรให้ลูกหันมาสนใจและเข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น   
การทำให้ลูกสนใจวินยาศาสตร์มีวิธีง่ายๆดังนี้
  - ให้ลูกน้อยอ่านหนังสือการ์ตูน เช่น หนังสือโดเรมอน  เพราะมีความรู้ทางวิทยาศตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
  - ซื้อเกราะกิจกรรมการทดลอง  ซื้อหนังสือทดลองที่สามารถทำที่บ้าน   เช่น  การพับกระดาษ  พีระมิด  การตัดพิซซ่า    เป็นต้น 
  - พาเด็กเข้าร่วมพิพิธภัณฑ์  เพราะเด็กสามารถเข้าร่วมการทดลองได้  เเละยังสามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กกล้าเเสดง         ออกในการทดลองให้แก่เด็ก   ทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้


บทความที่ 3 โดย (นางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า)
เรื่อง วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ

 ครูธิดาได้กล่าวว่า เด็กคือต้นกล้าที่ต้องได้รับการพัฒนา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ในการเล่นครูต้องให้เด็กลงมือปฎิบัติจริงแล้วครูคอยประเมินพฤติกรรมของเด็กอยู่ห่างๆ  และชวนเด็กตั้งคำถามไปเรื่อยๆ  จะทำให้เด็กเกิดความสงสัยและอยากหาคำตอบ เเละอยากทำการทดลอง  ซึ่งทำใหห้เด็กได้เรียนรู้และปฎิบัติจริงในการทำกิจกรรม และการจัดประสบการณ์ 


บทความที่ 4 โดย (นางสาวอุมาพร ปกติ)
เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จากดนตรี

ครูปฐมวัยให้เด็กปฐมวัยส่งลูกบอลจากตนไปหาเพื่อน  บางคนส่งช้า  บางคนส่งเร็ว  และบางคนส่งตามจังหวะเสียง  หลังจากนั้นชวนเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม  โดยให้เด็กหาอุปกรณ์ชนิดใดก็ได้มาทำกิจกรรมที่เกิดเสียง   และผู้จัดกิจกรรมมีการซักถามว่า  อุปกรณ์ที่นำมาเกิดเสียงอะไรบ้าง  เช่น    เสียงเบา  เสียงแหลม  เสียงทุ้ม  เสียงดัง  เสียงสูง   เสียงต่ำ  และขึ้นอยู่กับปริมาณที่หลากหลาย  
เช่น   -เสียงเกิดจากวัตถุกระทบกัน
    "เพื่อให้ทุกคนได้ตอบว่าเกิดอะไรจากการทำกิจกรรมนี้"
    "ร่างกายของเราทำให้เกิดเสียงได้อย่างไรบ้าง"


บทความที่ 5 โดย (นางสาวจารุนันท์  จันขัน)
เรื่อง การจัดการเรียนรูวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์  -ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
                  -เพื่อให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว 
                  -เพื่อส่งเสริมทักษะด้านต่างๆ
ในการทดลองเด็กจะใช้ทักษะการสังเกตุ  และประมวลความคิด  และบอกเหตุผล และจึงสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาโดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์  การใช้เหตุผล  ไปถึงทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์

เป้าหมาย   -แสดงความตระหนักรู้  ลงมือปฎิบัติ  สำรวจ  ตั้งคำถาม 
                -ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
                -รู้จักการใช้เหตุผล  กลัวการตัดสินใจ
                -เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง  และทำงานร่วมกับเพื่อน


ทักษะทางวิทยาศาสตร์(Science process skills.)



สรุุปองค์ความรู้หลังเรียน

***โปรแกรม map มีปัญหาเดี๋ยวหนูไปหาโหลดปรับปรุงแก้ไขใหม่นะคะ


ประเมินตัวเอง      วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลาค่ะ แต่งกายถูกระเบียบตั้งในฟังและบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน      เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน สนทนาโต้ตอบตอบกับบอาจารย์อย่างดี

ประเมินอาจารย์  อาจรย์สอนและให้เราคิดโต้ตอบกับสิ่งที่อาจารย์พูดมาได้อย่างเข้าใจและมีเหตุผล