วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารณ์จินตนา สุขสำรญ
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์ได้เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการให้คะแนะนำในการแก้ไขบล็อกของแต่ละคน และให้ทุกคนเพิ่มภาษาอังกฤษลงในบล็อกเพื่อเตรียมตัวที่จะเข้าสู้ปรัชาคมอาเซียนเราจะได้คุ้นเคย

จากนั้นอาจารย์ได้ถามพวกเราว่า "Constructivism" สอดคล้องกับการศึกษา
    
            การศึกษาด้วยตนเอง+การลงมือปฎิบัติจริง+สร้างชิ่นงานด้วยตนเอง

พัฒนาการก็ คือ การแสดงความสามารถตามอายุ การแสดงออกมาแต่ละด้าน ซึ่งเราจะคาดหวังเป็นคุณลักษณะและเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นของเด็ก ก็คือ เด็กจะเล่นโดยใช้ปรัสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งดิ้วอี้ เข้าเน้นเด็กเป็นสำคัญ การได้ลงมือปฎิบัติจริง ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้

กิจกรรมที่ได้ทำมนวันนี้

แจกกระดาษให้วาดภาพที่เชื่อโยงกันระว่างสองภาพหน้า-หลัง




อาจารย์ได้คำถามว่า "ภาพมันซ้อนกันเพราะอะไร" (หมุนไม้)

สรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม การทำงานชิ้นนี้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง การที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง "วิธรการเรียนรู้" และเรายังได้รู้ถึงวิธีการทำสื่อวิทยาศาสตร์ง่ายๆที่เราสามารถหาวัสดุอุปกรณ์ที่ง่ายดายมาสอนเโ้กได้ด้วย




การนำเสนอบทความของเพื่อน


บทความที่ 1 โดยนางสาววิรัณดา ขยันงาน (wiranda  Khayanngan)
เรื่อง สอนลูกเรื่องพืช

 -ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้เด็ก เป็นต้นไม้โอนเอนไปมา 
-ส่งสริมพัฒนาการทางด้านสังคมการเรียนรู้เรื่องผัก เด็กได้มีปฎิสัมพันธ์ในการได้สักถามแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน
-ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ทดลอองปลูกต้นไม้ เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในการวัดการเจริญเติบโตของต้นไ้ม้
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย



บทความที 2 โดย นางสาวอรุณจิต  หาญห้าว   (arunjit Hanhao)
เรื่อง เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
นิทานเป้นสื่อที่เด็กชอบเพราะมันเป้นเรื่องราวที่มานำเสนอ้ป็นสิ่งที่เด็กสนใจ ที่เป็นเนื้อหาสาระความรู้ บางทีเราเล่านิทานผ่านนิทานเพื่อให้เด็กได้จดจำสาระความรู้นำเสนอเป็นบทเพลงเด็กก็จะเข้าใจมากขึ้น
นิทานมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คือ มีรูปภาพ เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไป ฟังง่าย สั้นๆกระชับ เรามักจะนำเนื้อหาความรู้ สอดแทรกผ่านการเล่านิทาน 
การร้องเพลง ลักษณะของเพลงต้องมีจังหวะ ทำนอง ฉะนั้นการเล่านิทานจึงง่ายกว่าการร้องเพลงประกอบเนื้อหาแต่ถ้ามองในความชอบของเด็ก เด็กจะชอบการเล่าเนื้อหา ประกอบเพลงมากกว่า


บทความที่ 3 โดยนางสาวณัฐธิดา รัตนชัย (miss  Nattida Rattanachai)
เรื่อง แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้กับเด็กอนุบาล

แนวทางในการปฏิบัติมี 5 ข้อ
1.ตั้งคำถาม
2.หาคำตอบ
3.ข้อเท็จจริง
4.นำเสนอ
5.นำคำตอบที่ได้ไปเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์

ดร.วรนาท รักสกุลไท นักการศึกษาปฐมวัยผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า  เราคงทราบดีกันอยู่เเล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียรู้ ได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีสูงในด็กวัยนี้



บทความที่ 4 โดยนางสาว(Anitimom  Samma)
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การทดลองวิทาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้ เกี่ยวกับการสังเกตและการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล ทักษะการมอง ทักษะการฟัง  ทักษะการดม ทักษะการลิ้มรสช่วย ทักษะการสัมผัส เป็นต้น



ศึกษาเพิ่มเติม

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล (Froebelian Mode)

                เฟรอเบลเน้นการจัดประสบการณ์การศึกษาอนุบาลในภาพรวมนับแต่การจัดสิ่งแวดล้อม การจัดตารางเวลากิจกรรมประจำวัน การจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กในชั้นเรียนทั้งที่เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี ขับร้อง สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่นำเสนอต่อไปนี้จะเน้นเฉพาะช่วงกิจกรรมวงกลม ซึ่งเป็นช่วงการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วยการเตรียมและการดำเนินการ
                การเตรียม
                ครูผู้สอนต้องประเมินพัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก และความพร้อมในการเรียนด้วยการสังเกตเด็ก แล้วจึงมาเตรียมชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก พร้อมออกแบบประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็ก จากนั้นวางแผนขั้นตอนการสอนด้วยการเล่นชุดอุปกรณ์เป็นลำดับ
                การดำเนินการ
ขั้นนำ เริ่มกิจกรรมการสอนด้วยการทำให้เด็กสงบ อาจเป็นการร้องเพลง กิจกรรมคำคล้องจอง เป็นต้น เมื่อเด็กพร้อมจึงเริ่มการเรียน
ขั้นสอน ครูบอกจุดประสงค์การเรียน แล้วเสนอชุดอุปกรณ์ที่จะให้เด็กนำไปเล่นและสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์และแผนที่วางไว้ ครูจะไม่เข้าไปจัดการเด็กในขณะทำกิจกรรมการเรียน แต่สร้างบรรยากาศให้เป็นการเล่นอย่างธรรมชาติ
ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน เมื่อเรียนจบแล้วเด็กสามารถไปทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ ที่จัดเตรียมไว้อีก เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ ฟังนิทาน ร้องเพลง หรือกิจกรรมเคลื่อนไหว เป็นต้น
                ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญ เฟรอเบลมีการพัฒนาตารางกิจกรรมวันขึ้นมาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาครอบคลุบทุกด้าน ทั้งร่างกาย  จิตใจ อารมณ์   สังคม จากแนวคิดนี้ได้เป็นต้นแบบของตารางกิจกรรมประจำวันของการศึกษาอนุบาลในปัจจุบัน ที่เฟรอเบลจะให้เด็กนั่งเป็นวงกลมร้องเพลงแล้วเล่นชุดอุปกรณ์ ปัจจุบันเรียก กิจกรรมวงกลม ส่วนกิจกรรมสร้างเสริมสุนทรีและเพลิด ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา แต่ละวันครูจะจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบรรยากาศและสภาพความต้องการของเด็ก
การประเมินผล
                 การประเมินผลการเรียนของเฟรอเบลเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่พัฒนาไปตามลำดับ ชุดอุปกรณ์ จุดเน้นสำคัญของเฟรอเบลอยู่ที่การเรียนอย่างมีความสุข เป็นธรรมชาติ เพราะเฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นคือสื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าใจภายในด้วยตัวของเด็กเองที่เป็นไปตามกลไกชีวิต เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมือมีความพร้อมที่จะเรียนด้วยการเล่นและการมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟลอเบลเป็นเรื่องของการจัดการศึกษาอนุบาลทั้งระบบ ตั้งแต่การสอนหลักสูตร เนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้ การเตรียมครูและการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการสอนเด็ก บรรยากาศของเรียนรู้เน้นเป็นธรรมชาติ ความเพลิดเพลิน ความเป็นอิสระในการเล่นและการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นผู้จัดวางจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเป็นแบบแผน สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมีความหมายกับเด็กเป็นอย่างมาก  โรงเรียนของเฟรลเบลประกอบด้วยสวนที่สวยงาม มีสนาม มีมุมของเล่น ที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นได้ตามความสนใจ มีบริเวณสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งลักษณะการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟรอเบลนี้ ก็คือ รูปแบบของการจัดสิ่งแวดล้อมโรงเรียนอนุบาลในปัจจุบัน

http://www.youtube.com/watch?v=Bkvc00r8F7w

ประเมินตนเอง    

วันนี้แต่งกายเรียบร้อยร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำสื่อที่อาจารย์ทำมาให้ทำอย่างสวยงาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน และทำกิจกรรมี่อาจารย์นำมาสอนอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิกในการสอนที่ดี และมีการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่ทำง่ายๆมาสอนพวกเราให้เราได้ความรู้มากขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น