วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
สิ่งที่ได้รับในวันนี้

อาจารย์ได้เปิดบล็อกของแต่ละคนดูแล้วได้ให้คำแนะนำในการทำบล็อกของ
แต่ละคนฟังและได้ให้เพื่อนออกไปนำเสนอบทความของตัวเอง 5 คนแรก

          บทความที่ 1 โดย (นางสาวกมลวัลย์ นาควิเชียร)          
         เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง

    เด็กปฐมวัยเป็นวัยมีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเราตลอด
  เวลาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยให้มีสามารถคิดหา
 เหตุผล แก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็กควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย
 ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ


บทความที่ 2 โดย (นางสาวศิรดา สักบุตร)

         เรื่่องภาระกิจตามหาใบไม้

     กิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ 
ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ 
ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่างง่ายๆ
 “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาว
เขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามา
ช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน” ครูโสรดา 
พลเสน คุณครูอนุบาล 2/1 เล่าให้ฟังถึงปัญหาที่ผ่านมา
       “แต่พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท.มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา 
ทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอ
ให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว”

บทความที่ 3 โดย (นางสาวศิริพร พัดลม)                           
เรื่องเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ
แม่ละเมา...เขาชวนล่องแก่ง
       อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ “ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย” 
ซึ่งสอนเด็กๆ รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย 

หมวกกันน็อก เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต 
คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเป็นการสอดแทรกความรู้ทางวิทยาศาสตร์
 คณิตศาสตร์ และศิลปะแล้ว ยังปลูกฝังแนวทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 
และรักในถิ่นเกิดของตนเอง ก่อนทำกิจกรรม เราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่า 
กิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้คำ
สำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทาง
เดียวกัน” ครูพัชรากล่าว แม่ครูทัศวรรณ ปู่ลมดี ผู้ปกครองจิตอาสาในเครือข่าย
พ่อครู-แม่ครูท่านหนึ่ง ยืนยันว่า การที่พ่อแม่ร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ทำให้รู้ว่า ลูกเรา
มีความบกพร่องหรือด้อยในด้านใด ที่สำคัญคือ พ่อแม่ได้ตระหนักว่า จะปล่อยให้การเรียน
รู้ของเด็กๆ เป็นภาระของครูทั้งหมด
ไม่ได้ เพราะเวลาของเด็กส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่บ้าน จึงเป็นเรื่องดีที่โรงเรียน พ่อแม่ และชุมชน 
จะมาช่วยกันหาวิธีการศึกษา หรือช่วยกันตอกย้ำซ้ำทวนสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้มา 
ซึ่งเราสัมผัสได้เลยว่า เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นมาก ครอบครัวก็อบอุ่นเพราะได้ใช้เวลาร่วม
กันมากขึ้น “ตอนนี้เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบนี้ 
เมื่อเขาขึ้นสู่ระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเราคงเริ่มที่ระดับประถมศึกษาก่อน 
ถ้าหาก สสวท. สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษา 3 เท่า
กับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึง 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลา
ที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนมีจิตวิทยาศาสตร์
 ที่ติดตัวไปกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กบางคนอาจกลายเป็นนัก
วิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศก็เป็นได้” ผอ.ทองสุข สรุปทิ้งท้าย

บทความที่ 4 โดย (สาวศิริวรรณ กรุดเนียม)
เรื่องวทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิดเมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี 
และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ   
1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ             
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี
 และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัสดุอุปกรณ์             
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย
 ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม   
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช            
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)
กิจกรรม             
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็ก
ทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืช
ตามลำพัง            
 2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำ
กิจกรรมอยู่ครู
เดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร

 หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น             
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขา
ได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น             
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ
 เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืช
เหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กอง
เดียวกัน”“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”

    บทความที่ 5 โดย  (นางสาวขวัญฤทัย ใยสุข)
    เรื่องการเป่าลูกโป่ง

วันนี้เพื่อนหาเนื้อหามาไม่ตรงกับที่อาจารย์สั่ง สิ่งที่เพื่อนหามาไม่ใช่บทความ
 เป็นแค่วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์
 แต่อาจารย์ก็ให้โอกาสเพื่อนได้ออกไปรายงานในส่วนที่เตรียมมา 
เรื่องนี้เป็นวิทยาศสตร์โดยการนำเอาศิลปะมาประยุกต์ใช้ในการบูรณาการในการเรียนวิชานี้คือ
 การตัดกระดาษเอามาแป๊ะลูกโปร่งตามจินตนาการให้สวยงาม


อาจรย์ได้สอนและอธิบายใน PowerPoint 
- คุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย
- ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย

กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้
อาจารย์ได้เขียน map  สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ลงใส่ในกระดาษ A4

















*** สิ่งที่อาจย์เสนอแนะคือ ให้จัดรัเบียบการทำ map ให้ดี


ประเมินตนเอง  

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังและจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์สอน 

ประเมินเพื่อน  

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนทุกคน

ประเมินอาจารย์

สอนและอธิบายเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ ฝึกให้เราคิดด้วยตัวเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น